มอบของขวัญพิเศษให้ตรงใจด้วยการเข้าใจ UX |
29 เมษายน 2561 | อ่านแล้ว 282 ครั้ง |
เด็กสายออกแบบคงคุ้นเคยกันดีกับ UX หรือ User Experience นั่นคือความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบที่เราออกแบบสร้างมันขึ้นมา แต่จริง ๆ แล้ว คำว่า UX นี้ สามารถปรับใช้ได้กับอีกหลาย ๆ วงการโดยเฉพาะเมื่อจำเป็นที่ต้องสื่อสารเหล่าผู้คนที่เต็มไปด้วยความแตกต่างมากหน้าหลายตา
ผู้เขียนมีโอกาสไปยังงาน FUNC/ 2018 Mini Showcase ของนักศึกษาเอกเว็บและสื่อโต้ตอบ ที่ใช้เวลากว่า 8 เดือนผลิตผลงานที่เรียกว่า ‘จุลนิพนธ์’ อันเป็นเอกลักษณ์กว่า 40 ชิ้นออกมาได้ในที่สุด
แอพลิเคชั่นและเว็บปฏิสัมพันธ์ (Interactive) เหล่านี้ต่างได้รับการออกแบบโดยใส่ใจกระบวนการที่เรียกว่า UX หรือ User Experience
UX ที่ดีนั้นก็เหมือนกับการใช้งานได้อย่างราบรื่นและช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกสบายใจขณะเยี่ยมชมแอพลิเคชั่นและเว็บของเรา หรือแม้แต่คอนเทนท์อื่น ๆ ทั้งภาพ วิดีโอด้วยเช่นกัน ตัวอย่างสำหรับคนนอกสายออกแบบคือ หากอยากมอบของขวัญให้สาวหรือหนุ่มที่ชอบสักคน ถ้าไม่รู้ว่าคน ๆ นั้นชอบอะไร ก็คงยากที่หาของได้ตรงใจใช่ไหม?
มาถึงตรงนี้ หากเราได้สำรวจข้อมูลสักนิดนึง ว่าผู้หญิงของเรานั่นชื่นชอบแดงและภาพยนตร์มาเวลเป็นชีวิตจิตใจก็คงทำให้งานหาของขวัญนั้นง่ายมากไม่น้อย
เช่นเดียวกับแอพลิเคชั่นของ เต๋า ณัฐพล ขันทอง ว่าที่บัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร เจ้าของแอพพลิเคชั่นตัวกลางส่งเสริมธุรกิจโค-เวิร์คกิ้งสเปช ที่อาศัยการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ จนพัฒนาไปสู่การทำแอพเพื่อวางแผน รูปแบบการเดินให้กับผู้ใช้ แม้แต่ที่เลือกทำบนระบบ iOS ก็มาจากการสำรวจเช่นกัน
ในมุมมองนักศึกษานิเทศศาสตร์ ผู้เขียนเห็นว่าของขวัญที่ดีนั่นเกิดขึ้นเพราะการเข้าใจว่าผู้รับสารของเป็นใครกันแน่ โดยไม่ใช่แค่ อายุ 15-30 ปี แต่ต้องรวมไปถึงความชอบ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตด้วย
ที่มาภาพ techtic.com
หรือหากดูในวงการอุตสาหกรรมอาหารบ้าง ทุกคนคงคุ้นเคยกับเจ้าซอสมะเขือเทศบีบลำบากจนแทบจะขว้างใส่กำแพงมาบ้าง ทุกอย่างแก้ไขด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทซอส แน่นอน มันได้รับเสียงสะท้อนที่ดีเพราะมันบีบง่ายยังไงละ
ทำอย่างไรให้มันง่าย ด้วยเหตุนี้ ‘กราฟิก’ ที่สวยงามจึงเข้ามามีส่วนช่วยให้การอธิบายเนื้อหาชวนฉงนให้เข้าใจง่ายขึ้นนั่นเอง และสีก็เข้ามาส่วนด้วยเช่นกัน
ฟลุ๊ค สรวัชญ์ ตันอร่าม บอกว่า แอพพลิเคชั่นตัวกลางหาแนวร่วมไปบริจาคสิ่งของที่พัฒนาขึ้นเลือกใช้ที่ฟ้าก็เพราะมันสามารถสื่อสารถึงการให้เห็นว่าแอพน่าเชื่อถือ (น่าเชื่อถือเพราะมีการระบุตัวตนที่จะมาใช้งานด้วย) ดังเช่นหลายตำราก็ลงว่าสีนี้มีความหมายถึง ความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่องค์กรหลาย ๆ แห่งเลือกใช้สีที่ถ้าน่าเชื่อถือประจำองค์กรของตน
ดังนั้น การเข้าใจ UX ก็คือมอบของขวัญพิเศษให้ตรงใจ ด้วยของขวัญที่เราได้ศึกษามาอย่างถ่องแท้แล้วและทำให้มันง่ายสำหรับทุกคน และที่สำคัญต้องอย่าลืมว่าเราทำให้ใคร และไปทำไมนั่นเอง
เรื่องโดย วุฒิพงษ์ วงษ์ชัยวัฒนกุล ไอซีทีนิเทศศาสตร์ ปี 4 รุ่น 8